ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

วีรพงษ์ รามางกูร

ดร. วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตที่ปรึกษาเศรษฐกิจในหลายรัฐบาล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห?งชาติ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เดิมชื่อนายประดับ บุคคละ เกิดวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร (แดง) หรือนายประดิษฐ์ บุคคละ และนางบุญศรี รามางกูร (สกุลเดิม เกิดเล็ก) เชื้อสายฝ่ายคุณปู่เป็นตระกูลเจ้านายลาวเวียงจันทน์ ผู้ปกครองเมืองธาตุพนม (เมืองพนม) ในอดีต ส่วนเชื้อสายฝ่ายคุณย่าเป็นตระกูลเจ้านายภูไทเมืองวัง ผู้ปกครองเมืองเรณูนคร (เมืองเว) ในอดีต ปัจจุบันทั้งสองเมืองนี้คืออำเภอธาตุพนมและอำเภอเรณูนครในจังหวัดนครพนม

คุณปู่ของดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีนามว่า เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้ตั้งสกุลรามางกูรแห่งอำเภอธาตุพนม บุตรชายท่านที่ 3 ของอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุณ (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมองค์ที่ 2 กับอาชญานางบุษดี ธิดาอาชญาหมื่นนำรวง กรมการเมืองธาตุพนม หลานสาวกวานหลวงอามาตย์ (อำนาจ) นายกองข้าโอกาสพระธาตุพนมและอดีตกวานเวียงชะโนด ในอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ต้นตระกูลฝ่ายคุณปู่พระนามว่า อาชญาหลวงรามราชรามางกูร หรือขุนรามราชรามางกูร (ราม ต้นตระกูล รามางกูร) คนทั่วไปรู้จักในนามเจ้าพ่อขุนรามหรือเจ้าพ่อขุนโอกาส เจ้าเมืองธาตุพนมพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ กับอาชญานางยอดแก้วสิริบุญมา ธิดาเจ้าอุปละ (ศรีสุมังค์) แห่งนครจำปาศักดิ์ นอกจากนี้ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ยังมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมองค์ที่ 3 ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) และ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ยังมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจ้าพระอัครบุตร์ (บุญมี ต้นตระกูล บุคคละ) กรมการชั้นผู้ใหญ่ของเมืองธาตุพนมผู้เป็นพี่ชายของเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ด้วย ตระกูลฝ่ายบิดาของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร นับได้ว่าสืบเชื้อสายจากเจ้าเมือง นายกอง และเจ้านายชั้นสูง (ขุนโอกาส) ผู้ดูแลรักษาพระบรมธาตุพนมมาหลายชั่วอายุคน ตลอดจนรับราชการในเมืองนครจำปาศักดิ์ และสืบเชื้อสายปฐมวงศ์จากราชวงศ์เวียงจันทน์สายสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารอีกด้วย

ฝ่ายคุณย่าของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีนามว่าอาชญานางสูนทอง รามางกูร (สกุลเดิม บัวสาย) ธิดาของอาชญานางผายี หลานของเพียพรรณละบุตร์ (พัน บัวสาย) ต้นตระกูลพรรณุวงศ์แห่งอำเภอเรณูนคร กับอาชญานางซืม ต้นตระกูลฝ่ายคุณย่าพระนามว่า เจ้าอุปฮาต (บุตร บัวสาย) อุปฮาตพระองค์แรกแห่งเมืองเรณูนคร กับอาชญานางเอื้อยกก พี่สาวของพระแก้วโกมล (เพชร โกพลรัตน์) เจ้าเมืองเรณูนครองค์แรก และพระแก้วโกมล (สาย แก้วมณีชัย) เจ้าเมืองเรณูนครองค์ที่ 2

เมื่อวัยเยาว์นั้นกรุงเทพมหานครเกิดสงคราม ดร. วีรพงษ์ รามางกูร จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับยายซึ่งมีอาชีพทำนา ที่อำเภอบางบ่อ โดยมีป้าเป็นผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด ส่วนบิดาทำงานอยู่ที่โรงพักบางรักแล้วย้ายไปอยู่พญาไท ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานตามบิดาไปอยู่ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยอาศัยอยู่กับเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้เป็นปู่ที่ธาตุพนมเป็นเวลาถึง 7 ปี ด้วยปัญหาความขัดแย้งของตระกูลเจ้านายธาตุพนมเดิม เป็นเหตุให้เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ซึ่งแต่เดิมใช้สกุล บุคคละ ตามพี่ชายคนโตคือ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) เจ้าพระอุปฮาตได้ปรึกษากับบุตรชายคนรองคือ นายดวง รามางกูร (ป.ธ., พระราชทานเพลิง) ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ตั้งสกุลรามางกูรขึ้นใหม่ เป็นเหตุให้ทายาทสกุลบุคคละเดิม รวมถึง ดร. วีรพงษ์ ต้องเปลี่ยนสกุลจากบุคคละมาเป็นรามางกูรตามปู่และบิดาของตน ดร. วีรพงษ์ รามางกูร เป็นคนเฉลียวฉลาดมีสติปัญญาดีมาก และมีความขยันขันแข็งพากเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนเป็นอันดับ 1 ในชั้นเรียนมาโดยตลอด จนเป็นที่เล่าลือและชื่นชมในหมู่ญาติและครูอาจารย์ เมื่อวัยเยาว์ได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ตัวจังหวัดนครพนม คือโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนสุนทรวิจิตร จนจบประถม 4 ก่อนจะย้ายตามบิดาเข้ากรุงเทพมหานคร อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2496 ฝ่ายบิดานั้นได้ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนศรีอยุธยา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จากนั้นศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ รุ่นเดียวกับ ศ. สุรศักดิ์ นานานุกูล ดร. เมธี ครองแก้ว และศิริบุญ เนาถิ่นสุข จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง เป็นคนแรกจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะที่ศึกษาอยู่ก็สอบได้เป็นอันดับ 1 มาตลอดทุกเทอม ต่อมาได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาการต่างประเทศและการทูต ร่วมมือกับ ศ. บำรุงสุข สีหอำไพ ก่อตั้งแผนกอิสระสื่อสารมวลชน ซึ่งต่อมาคือคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่นานจึงได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาเศรษฐมิติ (Econometrics) ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกานาน 5 ปีครึ่ง และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มอบทุนค่าใช้จ่ายให้มากสุดถึงเดือนละ 300 เหรียญ เป็นเหตุให้หลังจากกลับจากการศึกษาต่อ ดร. วีรพงษ์สามารถสร้างบ้านส่วนตัวหลังแรกได้สำเร็จ ต้นปี พ.ศ. 2515 ได้กลับมาเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2519 อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังปี พ.ศ. 2526 เข้าทำงานที่สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จากนั้น พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการวางแผนเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบทุนนิยม ตามนโยบายเปิดประเทศ เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน และยกย่องกันว่าทางรัฐบาลลาวได้ไว้วางใจและนับถือ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศธนาคารโลกเพื่อการพัฒนา หรือ Asian development Bank (ADB) ได้ให้ ดร.วีรพงษ์ เข้าไปช่วยเหลือการสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงินและเศรษฐกิจของลาว

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร สมรสมาแล้ว ๒ ครั้ง ๑ ใน ๒ ท่านนั้นคือนางลดาวัลย์ รามางกูร (สกุลเดิม ติรสวัสดิชัย) พี่น้องของนายอภิชาติ ติรสวัสชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีบุตร์ธิดา 3 ท่าน ได้แก่

ปัจจุบัน ดร. วีรพงษ์ รามางกูร พำนักอยู่ที่ จวนขุนราม เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าของที่ดินบางส่วนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านหัวบึง ทิศเหนือของวัดหัวเวียงรังษี ที่ได้รับส่วนแบ่งจากบรรพบุรุษในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ที่ดินอันเป็นมรดกบริเวณนี้ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณที่ตั้งโฮงที่ประทับของเจ้าเมืองธาตุพนมและเชื้อสายในอดีต นอกจากนี้ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ยังเป็นผู้นำบุตรหลานตระกูลรามางกูรทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นผู้นำการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดหัวเวียงรังสี ซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลเจ้าเมืองธาตุพนมมาแต่โบราณ เป็นผู้ร่วมมือกับนายดวง รามางกูร ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ทำการรวบรวมสายสกุลของตระกูลเจ้าเมืองธาตุพนม รวมทั้งได้รับการนับถือว่าเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุดของตระกูลรามางกูร และที่สำคัญยังเป็นผู้อัญเชิญกฐินพระราชทานไปทอดถวายยังวัดสำคัญๆ ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วย

หลังจากจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2508 ดร.วีรพงษ์ ได้บรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในฐานะผู้บุกเบิกสร้างแผนกอิสระสื่อสารมวลชนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาเป็นคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ดร.วีรพงษ์ ได้ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ จบปริญญาโท และปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ดร.วีรพงษ์ ได้เข้าเป็นอาจารย์สอนที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นอาจารย์คนแรกของไทยที่สอนทางด้านเศรษฐมิติ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.วีรพงษ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุนรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่ปรึกษาของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช

ในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ พ.ศ. 2554 ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ได้รับตำแหน่งจากคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ ดร.วิษณุ เครืองาม ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ และกิจจา ผลภาษี ร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยทำหน้าที่สร้างความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติกลับคืนมายังประเทศไทย และวางแผนการลงทุนระบบน้ำทั้งหมดและเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.) ร่วมกับ นายสุเมธ ตันติเวชกุล มรว.ดิศนัดดา ดิศกุล นายดิศธร วัชโรทัย นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา นายกิจจา ผลภาษี

ดร.วีรพงษ์ ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมไทย-ลาว เพื่อ มิตรภาพ ตั้งปี พ.ศ. 2547 เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย อุปนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย กรรมการสมาคมไทย-อเมริกาศึกษา กรรมการสมาคมรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหารสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย เป็นต้น

ดร.วีรพงษ์ มีตำแหน่งสำคัญทางภาคเอกชนหลายตำแหน่งโดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ 8 บริษัท และ กรรมการหรือที่ปรึกษาอีก 20 บริษัท และหนึ่งในนั้นคือ ตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท แอดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) เจ้าของผลิตภัณฑ์ กระดาษดับเบิ้ลเอ

ในปี พ.ศ. 2540 เมื่อครั้ง ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีร่วมด้วย ช่วงนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ได้แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีทรัพย์สินรวม 42,381,147.13 บาท ประกอบด้วยเงินฝาก 386147.13 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียน 8,755,000 บาท ที่ดิน 31,240,000 บาท และสิ่งปลูกสร้างอื่น 1,500,000 บาท รถยนต์ 500,000 บาท พร้อมทั้งไม่มีหนี้สิน

ส่วนนางลดาวัลย์ รามางกูร ผู้เป็นภรรยา มีทรัพย์สินทั้งหมด 139,269,673.05 บาท ประกอบด้วย เงินฝาก 107,839.72 บาท ที่ดิน 87,172,833.33 บาท บ้านอาศัย 25,000,000 บาท สิ่งปลูกสร้างอื่น 22,639,000 บาท ยานพาหนะ 350,000 บาท ทรัพย์สินอื่น 4,000,000 บาท ส่วนหนี้สินนั้น มีเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมธนาคาร 30,173,504.34 บาท เงินกู้จากสถาบันการเงินอื่น 475,012.22 บาท รวมหนี้สิน 30,648,516.49 บาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 108,621,156.49 บาท รวมทั้ง 2 คนสามีภริยามีทรัพย์สิน 181,650,820.18 บาท ในจำนวนนี้เป็นที่ดินมูลค่า 118,412,833.33 บาท รั้งอันดับต้นๆ ของประเทศไทย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301